เข้าใจปัญหาสิวฮอร์โมน พร้อมรู้วิธีรักษาอย่างเหมาะสม
เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หลายคนอาจคุ้นเคยกับสิวที่ขึ้นมาบ่อย ๆ บนใบหน้า หรือที่เราเรียกกันว่า “สิวฮอร์โมน” แต่ความจริงแล้ว สิวประเภทนี้เป็นสิวที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย อีกทั้งความเครียดสะสม ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสิวฮอร์โมนได้เช่นเดียวกัน
บทความนี้ชวนมาทำความเข้าใจ สาเหตุของการเกิดสิวประจำเดือน สิวฮอร์โมน พร้อมวิธีรับมือแก้ยังไงให้หายได้แบบไม่ทิ้งรอยดำไว้บนผิว เพื่อบอกลาปัญหาสิวกวนใจ
สิวฮอร์โมน คืออะไร ?
สิวฮอร์โมน คือ สิวที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย โดยทั่วไปแล้วมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิมซ้ำ ๆ เช่น ช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือน ช่วงหลังหมดประจำเดือน หรือ ช่วงที่เผชิญกับความเครียด ซึ่งหลายคนอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิวประจำเดือน
สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
- ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง: เมื่อฮอร์โมนของเราเปลี่ยนแปลง จะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมามากจนเกินไป ส่งผลให้รูขุมขนเกิดการอุดตันและอักเสบ นำไปสู่การเกิดสิวฮอร์โมน และสิวประจำเดือน หรือช่วงตั้งครรภ์ได้
- ความเครียด: เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น แล้วไปกระตุ้นการสร้างน้ำมันบนผิวหนัง อีกทั้งยังจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนไม่สามารถสู้กับแบคทีเรียได้ ทำให้เกิดการสะสมและเกิดเป็นสิวได้
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ: ทำให้ระดับฮอร์โมนแปรปรวน ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และการสะสมของน้ำมันส่วนเกินบนผิว ทำให้เป็นสิวในที่สุด
ลักษณะของสิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมนมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งสิวอุดตัน สิวอักเสบ โดยจะแสดงอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถแยกลักษณะของสิวได้ทั้งหมด ดังนี้
- สิวอุดตัน (Comedones) : มีทั้งสิวหัวดำ (Blackheads) ที่เป็นสิวอุดตันหัวเปิด มีการฝังตัวของเคราติน (Keratin) และลิพิด (Lipid) ที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) กับอากาศ และสิวหัวขาวที่เป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก มีความนูน และมีหัวสีขาวที่สังเกตเห็นได้ยาก
- สิวอักเสบ (Inflammatory acne) : สิวฮอร์โมนอักเสบ รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส มีความตึงนิด ๆ บริเวณผิวที่เป็นสิว โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะย่อยได้อีก 2 แบบ ได้แก่
- สิวตุ่มนูนแดง (Papule) : สิวฮอร์โมนแบบไม่มีหัว มีอาการอักเสบ ลักษณะเม็ดกลม แดง มีขนาดเล็ก และไม่มีหนอง แต่จะมีความเจ็บเล็กน้อยเมื่อสัมผัส
- สิวหัวหนอง (Pustule) : สิวแดงที่ตรงกลางเป็นหนองสีขาวเหลือง จะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน
- สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) : สิวอักเสบระดับรุนแรงที่มีความเจ็บปวดมาก และเป็นสิวขนาดใหญ่ แต่จะแข็งเป็นก้อน และไม่มีหัวสิว หรือหนองภายใน แต่จะเกิดลึกถึงระดับชั้นใต้ผิวหนัง และควรไปเข้ารับการรักษาก่อนกลายเป็นปัญหาหลุมสิว
แนวทางการรับมือกับสิวฮอร์โมนอย่างถูกต้อง
สิวฮอร์โมน เป็นปัญหาผิวที่สร้างความรำคาญใจให้กับหลายคน โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะพบเจอได้บ่อย ๆ ในช่วงมีประจำเดือน หรือช่วงตั้งครรภ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ใครที่กังวลใจ อยากทำการรักษาให้ทุเลาลง หรือหายขาด เรามีแนวทางการรับมือที่ได้ผลดีมาฝาก
1. ทำการรักษาด้วยยา
สามารถดูแลสิวฮอร์โมนให้ดีขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วยการรักษาแบบใช้ยา ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งยาทาสิวอย่าง กรดซาลิไซลิก เรตินอยด์ หรือยาทาตามแพทย์สั่ง เพื่อลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อสิว ในขณะเดียวกันก็สามารถรับประทานยาร่วมด้วยได้
2. การฉีดสิว
สำหรับผู้ที่ต้องการรีบใช้ผิว อยากให้สิวอักเสบยุบเร็ว ๆ ก็สามารถเลือกทำการรักษาด้วยวิธีการฉีดสิวได้ แต่จะต้องทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อฆ่าเชื้อ และลดอาการอักเสบของสิวขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีนี้จะนิยมใช้กับสิวอักเสบแบบไม่มีหัว
3. การฉายแสง
แต่สำหรับผู้ที่มีสิวอุดตันและสิวอักเสบปะปนกันไป หากต้องการรักษาให้หายอย่างอ่อนโยน ไม่รบกวนผิว ไม่เจ็บตัว ก็สามารถเลือกวิธีฉายแสงฆ่าเชื้อสิวได้ โดยจะมีทั้งโปรแกรมเลเซอร์ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อสิว และโปรแกรม Laser ที่ดูแลผิวหลังเกิดสิว เพื่อลดรอยดำ รอยแดง และรอยแผลจากสิว ให้ผิวใสอย่างต่อเนื่อง
4. การผลัดเซลล์ผิว
บอกลาสิวฮอร์โมนชนิดสิวอุดตันได้อย่างมั่นใจ ด้วยการรักษาแบบการผลัดเซลล์ผิว ซึ่งจะเป็นการใช้กรดผลไม้ หรือสารเคมีทางการแพทย์เข้ามาช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ของผิว เพื่อให้ลดการอุดตันของรูขุมขน ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยจัดการกับรอยดำ รอยแดง รอยแผลได้เป็นอย่างดี
ปัญหาสิวฮอร์โมน เป็นปัญหาที่ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะสิวประเภทนี้มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่อยู่ภายในร่างกาย หากรักษาเองอย่างไม่ถูกวิธี ด้วยการแกะหรือบีบสิว อาจทำให้เกิดรอยดำฝังลึก และทำให้ชั้นผิวหนังถูกทำลายได้
Privato Clinic คลินิกรักษาสิวในกรุงเทพฯ ที่พร้อมดูแลทุกปัญหาสิว ด้วยการบริการที่ครบวงจร พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการดูแลโดยแพทย์ผิวหนังที่เชี่ยวชาญ เข้ารับบริการได้ที่ Privato Clinic ทั้ง 3 สาขาในกรุงเทพฯ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้ารับบริการได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง:
- Hormonal Acne. สืบค้นวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 จาก https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21792-hormonal-acne